แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ

GUIDELINES FOR PARTICIPATORY ACADEMIC ADMINISTRATION FOR PUBLIC EDUCATIONAL INSTITUTIONS OF SISAKET PROVINCIAL VOCATIONAL EDUCATION OFFICE

  • ฐิติมาภรณ์ ธรรมวิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อเป็นแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และ ระยะที่ 2 แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติดีเยี่ยม จำนวน 2 สถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ประเมินแนวทาง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) งานวิทยบริการและห้องสมุด 2) งานสื่อการเรียนการสอน 3) งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 4) งานวัดผลและประเมินผล 5) งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ 6) งานแผนกวิชา ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน  ได้แก่ 1) งานแผนกวิชา 2) งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 3) งานวัดผลและประเมินผล 4) งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 5) งานวิทยบริการและห้องสมุด และ 6) งานสื่อการเรียนการสอน ทั้ง 6 ด้าน มีแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งสิ้น 41 แนวทาง


 This research aims to 1) study the current situation, desired situation, and necessity for participatory academic administration for public educational institutions of the Sisaket Provincial Vocational Education Office and 2) guidelines for participatory academic administration for public educational institutions of the Sisaket Provincial Vocational Education Office. The research was divided into 2 phases. Phase 1 : to study the current state and the desirable state and the priority needs of academic administration. The sample group was 230 participants. Those were collected by stratified random sampling through the school size and simple random sampling. The instruments were the 5-level rating scale questionnaire. Data analyses were percentage, mean, standard deviation, and modified priority needs index. Phase 2 : the guidelines of academic administration by the study of 2 best practices schools. The informants included 6 of the school’s administrators and teachers. The instruments were the semi-structured interview and the evaluation of the suitability and feasibility. The development guidelines were evaluated by 5 experts through purposive sampling technique. Data analyses were mean, standard deviation, and content analysis.


The results were as follows: 1) The overall opinions concerning the current condition of participatory academic administration for public educational institutions of the Sisaket Provincial Vocational Education Office have an average equal to 4.33, and when considering each aspect, it was found that it was at a high level in every aspect. The overall opinions concerning the desirable condition of participatory academic administration for public educational institutions of the Sisaket Provincial Vocational Education Office have an average equal to 4.65, and when considering each aspect, it was found that it was at the highest level in every aspect. Furthermore, the priority needs were, in descending order from high to low, as follows: 1) Academic Resources and Library 2) Teaching Media 3) Curriculum Development 4) Measurement and Evaluation 5) Dual Vocational Education and 6) Department, respectively and 2) the overall opinions concerning the guidelines for participatory academic administration for public educational institutions of the Sisaket Provincial Vocational Education Office  have an average equal to 4.60; it was found that it was at the highest level in every aspect. The possibility is at a high level and has an average equal to 4.41. These 6 aspects are as follows: 1) Academic Resources and Library 2) Teaching Media 3) Curriculum Development 4) Measurement and Evaluation 5) Dual Vocational Education and 6) Department. These could be elaborated into 41 detailed guidelines for participatory academic administration for public educational institutions of the Sisaket Provincial Vocational Education Office.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนมพรรษ เทียมดวงแข. (2566). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2533). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ.

นิภาพร จ่าเมืองฮาม. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(7). 345-359.

รัชตรา โทนหงษา. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วารุณี ภาวงค์. (2566). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). แผนยุทธศาสตร์การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2566–2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Cohen, J.M. and N.T. Uphoff. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York : Richard D. Irwin.

Force, T. and Unesco. (2020). BACK TO SCHOOL ในยุค NEW NORMAL. Retrieved 16 August 2022. From https://www.educathai.com
Published
2025-05-30
How to Cite
ธรรมวิเศษ, ฐิติมาภรณ์; จันทร์ศิริสิร, พชรวิทย์. แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 9, n. 1, p. 58-69, may 2025. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2811>. Date accessed: 03 july 2025.