แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF INTERNAL QUALITY ASSURANCE OPERATION FOR THE SCHOOL BY USING THE QUALITY CYCLE OF DEMING UNDER THE MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1

  • กาญจนาพร นะตะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวัฒน์ เรืองสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน จำนวน 359 คน ตอบแบบสอบถาม และผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้จำนวน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 อยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน ด้านจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ด้านติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ ด้านดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษา 2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 มี 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6 แนวทาง 2) ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง 3) ด้านการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ 4) ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 5) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 6) ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา


The objectives of this research were 1) to study the current conditions, desirable condition and requirements necessary for internal quality assurance operations for the schools through Deming's quality cycle under The Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1 2) to design, construct and evaluate internal quality assurance implementation guidelines through Deming's quality cycle for educational institutions under The Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1. with a total of 359 people Informants, who will provide insights and guidance and experts who will assess the suitability and feasibility of the proposed framework, totaling 5 people. Data will be collected through interviews and assessment forms for evaluating the suitability and feasibility of the framework. Statistical methods used for data analysis include: Percentage Mean Standard deviation Index of necessity.


The research results were found that; 1. The implementation of internal quality assurance in educational institutions, using Deming's Quality Cycle under The Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1, is generally at a moderate level. In contrast, the desired state is rated at the highest level. The necessary needs are ranked from most to least important as follows: Evaluation and inspection of the internal quality of education within the institution Preparation of the Self-Assessment Report (SAR) Monitoring the implementation of actions to develop the institution’s quality Implementation of the institution’s educational management development plan Preparation of the institution’s educational management development plan Establishment of the institution’s educational standards. 2. Guidelines for The Development of Internal Quality Assurance Operation for the School by Using The Quality Cycle of Deming Under The Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1, utilizing Deming’s Quality Cycle, comprises 6 components follows: 1) Evaluation and Inspection of Internal Educational Quality 2) Preparation of the Self-Assessment Report (SAR) 3) Monitoring the Implementation of Actions to Enhance Institutional Quality 4) Execution of the Educational Management Development Plan 5) Development of the Educational Management Development Plan 6) Establishment of Educational Standards.

References

ณัฐพล จันทร์พล. (2563). การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพภายใน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิตยา กัลยาณี. (2564). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่งสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวงเพชร ผัดกระโทก. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูผู้นำสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชรา กาจุลศรี. (2567).การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

วัชรินทร์ ภูมิภาค. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). รวมบทความเกี่ยวกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปี 2544 - 2546. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Deming, W. E. (2004). Out of the Crisis. U.S.A. : MIT center for Advanced Engineering Study.
Published
2025-06-04
How to Cite
นะตะ, กาญจนาพร; เรืองสุวรรณ์, สุวัฒน์. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 9, n. 1, p. 70-85, june 2025. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2810>. Date accessed: 04 july 2025.