รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์

MODEL FOR DEVELOPING CREATIVE LEADERSHIP AMONG ADMINISTRATORS OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER VOCATIONAL EDUCATION OFFICE KALASIN PROVINCE

  • จักรกฤษ ภิรมย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • กฤษกนก ดวงชาทม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น สร้างรูปแบบ และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.95 - 0.98 ระยะที่ 3 การสร้างรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ระยะที่ 4 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ มี 5 องค์ประกอบ 68 ตัวชี้วัด และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น มีค่า 0.26 – 0.603) ผลการพัฒนารูปแบบ มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การประเมินผล โดยรูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบ ก่อนการทดลองใช้ อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

คติพงษ์ อ่อนไชย, สถิรพร เชาวน์ชัย และวิทยา จันทร์ศิลา (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 7(2). 65-76.

จิตประสงค์ ทมะนันต์, พงษ์ธร สิงห์พันธ์ และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(3). 1202-1216.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญา. 29(3). 87-100.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ เอกสารประกอบการบรรยาย รายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พงษ์ศักดิ์ บุญเกื้อ, ฉลาด จันทรสมบัติ และประยุทธ ชูสอน. (2566). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7(3). 182-199.

พชพร เจริญศรี. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ภาสุณีย์ คำพันธ์. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2557). การปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ชมรมปฏิรูปการศึกษา.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไดมอนด์อินบิสิเนสเวิลด์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567). ผลการประเมิน PISA 2022 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). รายงานประจำปี 2566. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552—2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2562). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : เอ็กซ์เพิร์ทเน็ต.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14(2). 149-162.

สุนทร สุวรรณพร. (2566). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ : พัฒนาผู้นำอย่างไรมิให้องค์กรเกิดสุญญากาศ.วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(7). 265-277.

Dubrin, A. J. (2010). Principles of leadership. South-Western: Cengage Learning.

McCauley, D. C. (1998). Handbook of Leadership Development. San Francisco : Jossey- bass.
Published
2024-12-26
How to Cite
ภิรมย์, จักรกฤษ; ดวงชาทม, กฤษกนก; เรืองสุวรรณ, ชยากานต์. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 552-566, dec. 2024. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2682>. Date accessed: 18 jan. 2025.