การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยในรูปแบบกีฬาลีลาศ
THE CREATION OF THAI DANCE IN THE FROM OF DANCE SPORT
Abstract
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์การสร้างสรรค์ในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทดลองการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยในรูปแบบกีฬาลีลาศ กีฬาลีลาศ (Dance sports) มีทั้งความเป็นศิลปะและเป็นกีฬาอยู่ในศาสตร์เดียวกัน จากกรณีศึกษาของจังหวะตะลุง ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบกีฬาลีลาศจังหวะใหม่ๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่าลีลาศจังหวะวอลซ์และการฟ้อนแบบนีโอล้านนามีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง แต่ก็ยังมีลักษณะเด่นของร่างกายแต่ละส่วนแตกต่างกัน ในการทดลองสร้างสรรค์ท่าเต้นผู้วิจัยได้นำท่าเต้นช่วงล่าง (Foot work) ของลีลาศมาใช้เป็นท่าหลัก เนื่องจากสามารถเคลื่อนไหวไปรอบๆพื้นที่ได้ง่ายกว่า มีการนำการจีบ การตั้งวง และช่วงบนของร่างกายมาใช้ประกอบท่าทางในการนำเสนอความเป็นล้านนา จากการทดลองสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยในกีฬาลีลาศในรูปแบบ “ล้านนาวอลซ์” พบว่ามีความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ลีลาศจังหวะใหม่
References
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). เต้นรำ. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566. https://dictionary.orst.go.th/
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ลีลาศ. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2566. จากhttps://dictionary.orst.go.th/
รังสฤษฎิ์ บุญชลอ. (2545). ประวัติและการลีลาศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย. (2566). ประวัติลีลาศ 10 จังหวะ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.tdsa.or.th/showpagesub
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2549). แนวคิดทฤษฎีการฟ้อนล้านนาแบบใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย. ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.