การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
AN APPLICATION OF FOUR PRINCIPLES OF BRAHMAVIHARA TO THE PERFORMANCES OF STAFF MEMBERS ATTACHED TO THE LOCAL GOVERNMENTS, KUTCHUM DISTRICT, YASOTHON PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ กุดชุม จังหวัดยโสธร ตามความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตามประเภทตำแหน่งงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าเอฟ (F-test) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยมีผลต่างสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference:LSD)
ผลการวิจัยพบว่า 1. การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดสอบสมมติฐาน โดยภาพรวมที่มีตำแหน่งต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 แตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 1) ด้านการนำหลักเมตตาไปประยุกต์ใช้ ควรรักษาและส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร ให้มีความรัก ความหวังดี มีมิตรไมตรีต่อกัน และยกระดับการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการศึกษาหลักคุณธรรมด้านนี้อย่างจริงจัง 2) ด้านการนำหลักกรุณาไปประยุกต์ใช้ ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้ ด้านการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมอันดีในการอยู่ร่วมกัน มีความสงสารเห็นอกเห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน 3) ด้านการนำหลักมุทิตาไปประยุกต์ใช้ ควรรักษามาตรฐานไว้และยกระดับจิตใจ ให้มีมุทิตาจิตในทางที่ดีมีความโอบอ้อมอารี รู้สึกชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี โดยไม่เจือปนด้วยความอิจฉาริษยา 4) ด้านการนำหลักอุเบกขาไปประยุกต์ใช้ ควรให้ความยุติธรรมกับผู้ปฏิบัติงานทุกคนเท่าเทียมกัน วางตัว เป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่เข้าข้างคนผิดให้ว่าไปตามกฎระเบียบลงโทษผู้กระทำความผิดตามวินัย และควรจัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในองค์กรเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร
References
โกวิทย์พวงงาม. (2553). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎีแนวคิดและหลักการ. กรุงเทพฯ : บริษัท เอกซ์เปอร์เนท จำกัด.
นิภานล ไชยมงคล. (2561). การนำหลักพรหมวิหารไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในเขตอำเภอธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาวุฒิชัย วุทฺธิชโย (พรมวัง). (2559). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสราวุธ สุขิโต (ปัดจะมะ). (2558). การประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ใน การบริหารงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุรีริยสาส์น.