การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

AN APPLICATION OF FOUR PRINCIPLES OF SANGAHAVATTHU TO THE DEVELOPMENT OF THE NONG NAE SUB-DISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION, KUTCHUM DISTRICT, YASOTHON PROVINCE

  • พระปริญญา อนุตฺตโร (บุญแผ้ว) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พชรเดช เสมานู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 2) เพื่อศึกษากระบวนการการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนโดยการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ ซึ่งกำหนดไว้ 2 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน จำนวน 15 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาชุมชน จำนวน 5 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 20 รูป/คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4  ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) การศึกษาชุมชน (2) การให้การศึกษาแก่ชุมชน (3) การวางแผนและโครงการ (4) การดำเนินงานตามแผนและโครงการ (5) การติดตามประเมินผล 2. กระบวนการการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) เศรษฐกิจ (2) สังคม (3) การเมืองการปกครอง 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนโดยการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร โดยการใช้หลักทาน ทำให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันอย่างทั่วถึง ทำให้คนในชุมชนเกิดความรักใคร่สามัคคีกัน การใช้หลักหลักปิยวาจา มาใช้ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้คำใช้วาจาที่สุภาพในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน และคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การใช้หลักอัตถจริยา นำมาใช้โดยทำให้คนในชุมชนเกิดความรักหวงแหนเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม ประพฤติทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และการใช้หลักสมานัตตตา ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ทำให้เกิดความเคารพซึ่งกันและกัน รวมถึงการวางตัวเหมาะสมรู้กาลเทศะ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). เรียนรู้: วิถีความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

นัฐภาส์ การรินทร์. (2553). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญทัน ดอกไธสง และธเนศ ต่วนชะเอม. (2529). กระบวนการและวิธีการพัฒนาจิตใจเพื่อพัฒนาสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ห.จ.ก. ทิพย์อักษร.

บุญสิริ ชวลิตธำรง. (2529). ธรรมโอสถ. กรุงเทพฯ : อมรินทรฺการพิมพ์.

พระขวัญชัย ชยวุฑฺโฒ (แสนณรงค์). (2556). บทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์วัดเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระภมร ภูริปญฺโญ (ช่อผูก). (2561). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามทัศนะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสมศักดิ์ ธีรวํโส (แหวนคำ). (2561). กระบวนการพัฒนาชุมชนเมืองและชนบทสู่ความยั่งยืนของอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวาทิน กนฺตสีโล (บัวบุญ). (2558). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระสุนทร ธมฺมธโร (บุญคง). (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย. เล่ม 21, 32, 37. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช. (2552). กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่: กรณีศึกษาบ้านสบยาบ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Published
2023-09-20
How to Cite
อนุตฺตโร (บุญแผ้ว), พระปริญญา; เสมานู, พชรเดช. การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 485-499, sep. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2677>. Date accessed: 03 jan. 2025.