การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
THE STUDY OF COMPONENTS OF TECHNOLOGICAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KHON KAEN
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น คณะผู้วิจัยได้กำหนดใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ทั้งสิ้น 12 แหล่ง และ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการใช้เทคโนโลยีและได้รับรางวัลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบคุณภาพของประเด็นการสัมภาษณ์ด้วยวิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการใช้หลักการตีความ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ประมวลผลข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า จากนั้นตรวจสอบยืนยันข้อมูล และปรับตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกยุคดิจิทัล 3) การปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ 4) การปรับปรุงอย่างเป็นระบบ และ 5) การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลยวรรธน์ ตะเภาทอง และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. Journal of Modern Learning Development. 7(2). 41-55.
จิรวัฒน์ รักปัญญาสุทธิกุล และ ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(2). 241-256.
จิราพัชร ไผ่วุฒิพันธ์, ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ และ ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารรัชต์ภาคย์. 16(44). 247-256.
จีระศักดิ์ ชุมภู. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
จุฬาลักษณ์ อังษรณรงค์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การบริหารการศึกษาใหม่: New Education Governance. ชลบุรี : สำนักธรรมศาสตร์ และการเมือง ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาและมหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วรัฏฐา จงปัตนา. (2562). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนอนุบาลทรัพย์ปัญญาตามแนวคิดภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 14(2). 1-12.
วสันต์ชัย สดคมขำ. (2563). ภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีและเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภัททรา สังขวร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Banoglu, K. et al. (2022). Role of School Principals’ Technology Leadership Practices in Building a Learning Organization Culture in Public K-12 School. Journal of School Leadership 2023. 33(1). 66-91.
CASTLE. (2009). Principals Technology Leadership Assessment. Retrieved 21 March 2022. From http://dangerouslyirrelevant.org/wp-content/uploads/2017/04/PTLA-Packet.pdf
Efeoglu, C., & Coruk, A. (2019, October-December). The Relationship Between Teachers’ Attitudes Towards Educational Technologies and School Administrators’ Technology Leadership Roles. International Journal of Human and Behavioral Science. 5(2). 73-78.
International Society for Technology in Education. (2009). National Educational Technology Standards for Administrators. Washington, DC : Eugene, OR.
Kozloski, K. C. (2006). Principal Leadership for Technology Integration: A Study of Principal Technology Leadership. Doctoral dissertation : Drexel University.
Raman, A., & Don, Y. (2014). The Relationship between Principals’ Technology Leadership and Teachers’ Technology Use in Malaysian Secondary Schools Asian. Social Science. 10(18). 29-36.
Redish, T., & Chan, T. C. (2006). Technology leadership: Aspiring Administrators’ Perceptions of their Leadership Preparation Program. Doctoral dissertation : Kennesaw State University.
Thannimalai, R., & Raman, A. (2019, June). Principals Technology Leadership and its Effection Teachers Technology Integration in the 21st Century Classrooms. International Journal of Instruction. 12(4). 423-442.
Yahya, B. T., & Raman, A. (2020). Latest- Relationship between Principals’ Technology Leadership and Teacher’s Technology Use in Secondary Schools. Social Science and Humanities Journal. 4(3). 1797-1814.