การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับผังมโนทัศน์ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
DEVELOPMENT OF 5Es INQUIRY PROCESS SCIENCE ACTIVITY PACKAGES WITH MIND MAP ON SCIENCE SUBJECT FOR GRADE 3 STUDENTS
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพังซ่อน จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.32 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.76 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.44 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22 - 0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ E1/E2 และ การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 76.60/77.20 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ประภาวรรณ สิทธิเสนา. (2558). ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถการคิดวิเคราะห์และความคงทนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ปิยวดี ประเสริฐสังข์. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสารโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ภาวัต เต่านันท์. (2557). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5Es เรื่อง การเคลื่อนที่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลำดวน โสตา. (2545). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการใช้แผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรณา อู๋ไพจิตร. (2557). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิวัฒนา สุขมา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565. จากhttps://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989
สุภาวดี คำมุกซิก. (2565). ผลของวงจรการเรียนรู้แบบ 5Es เสริมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.