แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
THE DEVELOPMENT GUIDELINES LEARNING PROCESSES OF TEACHERS USING PARTICIPATIVE MANAGEMENT PRINCIPLES FOR SCHOOL EXPANDS EDUCATIONAL OPPORTUNITIES UNDER THE SISAKET PRIMARY EDUCATION AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการพัฒนาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส รวมจำนวนทั้งสิ้น 741 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพปัจจุบันของแนวทางพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบพบว่า ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น ความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยรวมเท่ากับ 0.073 เรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผล ลำดับที่ 3 ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 4 ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร 2. แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 มีทั้งสิ้น 4 องค์ประกอบ 22 แนวทาง ผลการประเมินแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยรวมแต่ละองค์ประกอบของแนวทางมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ใน ระดับมากที่สุด
References
ธีรกุล พงษ์จงมิตร. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับ สถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(6). 229-243.
นิภาพร พินิจมนตรี (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุมิตรา แซ่โง้ว. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Collie S. L. (2002). The Learning Organization and Teaching Improvement in Academic Departments. Dissertation Abstracts International. 63(6). 2155-A.
D.C. Elliont. (1994). Collaborative, decentralized management and perceptions of quality schooling outcome. A Dissertation Presented Degree Doctor of Education. Faculty of the School of Education : University of Southern California.
Gold, S.E. (2000). Community Organizing at a Neighborhood High School : Promises and Dilemmas in Building Parent - educator Partnership and Collaborations. Pro Quest Digital Dissertations. 60(7). 295.