การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียน ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

DEVELOPING READING AND WRITING ABILITIES THROUGH PERSONALIZED LEARNING MANAGEMENT IN COMBINATION WITH A READING AND WRITING SKILL SET FOR STUDENTS WITH LEARNING DISABILITIES

  • กฤติยา จันวงษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สาคร อัฒจักร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียน ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ 80/80  2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ ก่อนเรียนและหลังเรียน เทียบเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการสอนเฉพาะบุคคล เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 3 แผน 2) ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ จำนวน 3 ชุด 3) แบบทดสอบการอ่านและการเขียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ  วิเคราะห์โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพ (E1/E2) ในวงจรปฏิบัติที่ 1 เท่ากับ 51.99/74.12 เมื่อปรับปรุง แก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากปัญหาที่ได้จากการสังเกตุและการสะท้อนผลการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติที่ 2 และวงจรปฏิบัติที่ 3 ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพดีขึ้นตามลำดับ เท่ากับ 75.00/81.18 ในวงจรปฏิบัติที่ 2 และเท่ากับ 82.43/85.88 ในวงจรปฏิบัติที่ 3 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ หลังเรียนในวงจรปฏิบัติที่ 1 อยู่ในระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 50.88, วงจรปฏิบัติที่ 2 อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 64.71 และวงจรปฏิบัติที่ 3 อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 81.76 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรรยา เล็กชัยรัตน์ และพิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2560). ความสามารถในการอ่านสะกดคำที่เป็นสระแปลงร่าง โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คำที่เป็นสระแปลงร่าง ของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุรพงษ์ พิทาคำ และพิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กด สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5(3). 7–20.

ณชญาดา แก้วแสงอินทร์ เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท และวิชิต เทพประสิทธิ์. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (L.D.) โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 10(2). 89-98.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2549). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เบญจา ชลธาร์นนท์. (2543). เทคนิคการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ชุดเอกสารทางวิชาการ สำหรับพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ประภาพรรณ สุนันธรรม วัฒนา สุริวรรณ์ และซารัญฎา ผลจันทร์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย สาหรับนักเรียนพิการเรียนรวม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบะฮีวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สกลนคร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23.

ปิยาภรณ์ วันมี. (2558). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การเรียนรวมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ : รำไทยเพรส.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และคณะ. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข : สารเคมีในสมองกับความสุขใน การเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โฆสิตการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สมพร หวานเสร็จ. (2552). การพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกโดยใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (Eds.). (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Victoria : Deakin University Press.

Lerner, J. W., Egan, R. W., & Lerner, S. R. (2003). Study Guide with Cases: Learning Disabilities: Theories, Diagnosis, and Teaching Strategies. English : Houghton Mifflin Company.
Published
2023-04-10
How to Cite
จันวงษา, กฤติยา; อัฒจักร, สาคร. การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียน ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 409-421, apr. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2665>. Date accessed: 03 jan. 2025.