การพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญสู่เมืองธรรมเกษตร

DEVELOPMENT AMNATCHAROEN PROVINCE TO BUDDHISM AGRICUTURE

  • กุลรวี ศรีวรรณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วนิดา พรมหล้า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นเมืองธรรมเกษตรของจังหวัดอำนาจเจริญ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญสู่การเป็นเมืองธรรมเกษตร การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่ประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ, เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ รองเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ กำนันตำบลห้วยไร่ และผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองเม็ก ส่วนที่สองเป็นส่วนของภาคประชาชน ได้แก่ สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ เลขานุการคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ ประธานสภาองค์กรเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนหนามแท่ง และผู้ประสานงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ วิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในการเลือกผู้ให้ข้อมูลและใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และนําประเด็นอภิปรายสำหรับการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะนํามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นเมืองธรรมเกษตร คือ ประชาชนยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเท่าที่ควรจึงไม่มีส่วนร่วม หรือมีส่วนร่วมน้อย ในการกำหนดแนวทางและนโยบายในการพัฒนาจังหวัดไปสู่เมืองธรรมเกษตรโดยตรง แต่เป็นการกำหนดนโยบายผ่านผู้แทนเข้ามาขับเคลื่อนในระดับจังหวัดเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐทำให้เกิดปัญหาเล็ก ๆ จนไม่ได้รับการแก้ไข จึงทำให้มีการตั้งกลุ่มของคน ในชุมชนที่นำเสนอสิ่งที่ดีงามของแต่ละท้องถิ่น มานำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาและพยายามทำให้จังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดจัดการตนเอง จนกลายเป็นการประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนคนอำนาจเจริญเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย

References

จรูญ สุภาพ. (2519). ระบบการเมืองเปรียบเทียบและหลักวิเคราะห์การเมืองแบบใหม่. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

จิรภัทร แก้วคู่. (2556). ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ในคำสอนอีสาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาธรรม.

ฒาลัศมา จุลเพชร. (2565). พัฒนาการของแนวคิดการปกครองตนเองของท้องถิ่น : โอกาสและความท้าทายภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์. คณะรัฐศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปนัดดา รักษาแก้ว. (2564). การสร้างความเสมอภาคในสังคม: แนวคิดหลักการบนฐานคิดธรรมาภิบาล. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(1). 334-342.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) กับการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง.

พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที (แสงพงษ์). (2562). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของศาสตร์พระราชา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8). 3777-3781.

พลรพี ทุมมาพันธ์, สรียา โชติธรรม และกัญญ์ฐิตา ศรีภา (2565). เมืองแห่งการเรียนรู้: กรอบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์. 1(1). 59-84.

อมรเทพ วรเจริญ, จักรวาล สุขไมตรี, และวิจิตรา ศรีสอน. (2565). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: แนวคิดและการนําไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(4). 419-434.

Jurairat Janthamrong. (2007). Thai Social and Cultural. Bangkok : Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University.
Published
2023-06-01
How to Cite
ศรีวรรณ, กุลรวี; พรมหล้า, วนิดา. การพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญสู่เมืองธรรมเกษตร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 393-408, june 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2664>. Date accessed: 03 jan. 2025.