แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

THE GUIDELINES OF STRATEGIC ADMINISTRATION DEVELOPMENT OF SCHOOL IN NAPHO-NONGWAENG LEARNING QUALITY DEVELOPMENT CENTER UNDER THE OFFICE OF MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3

  • ฟ้าลิขิต สีหามาตย์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • ประสงค์ ต่อโชติ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • วีระพงษ์ เทียมวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • สมพงษ์ อัสสาภัย คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 2) พัฒนาแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน และข้าราชการครู จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยรวม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNIModified  = 0.21 และ 2) แนวทางในการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ได้แนวทางการพัฒนา 11 แนวทาง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : ลาดพร้าว.

จันทิมา บุญอนันต์. (2561). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ปณิตา สฤษฎีพีรพันธุ์. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาการบริหารงานเชิงกลยุทธ์สู่การจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพของโรงเรียนกำแพงวิทยา. สตูล : โรงเรียนกำแพงวิทยา.

รัชพล เชิงชล. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 16(2). 57-73.

ฤทัยรัตน์ เจษฎากุลทวี. (2562). รายงานการวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การบริหารเชิงระบบอย่างมีประสิทธิภาพในการบริการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณของหน่วยคลังและพัสดุในทรรศนะของบุคลากร ในสังกัดสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ สังกัดกองคลัง สังกัดคณะ/หน่วยงาน ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : หน่วยคลังและพัสดุ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). โรงเรียน: การบริหารสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุพรรณิการ์ พงศ์ผาสุก. (2562). การบริหารการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนวัดสัก (จันทร์ศิริจำเริญประชาสรรค์). วารสารศึกษาศาสตร์. 7(3). 62-76.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, and practice. 6th ed. New York : MocGraw-Hill.
Published
2023-03-24
How to Cite
สีหามาตย์, ฟ้าลิขิต et al. แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษานาโพธิ์หนองแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 355-366, mar. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2661>. Date accessed: 03 jan. 2025.