แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
THE GUIDELINES FOR DEVELOPING INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN ROI-ET PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และวิเคราะห์สรุปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยูในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาเป็นหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยมีโครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (3) โครงสร้างหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ (4) วิธีการพัฒนาและกิจกรรม (5) การวัดละประเมินผล ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. มหาสารคาม : ตักศิลาการพิมพ์.
ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : พิษณุโลกดอทคอม.
อรพิน อิ่มรัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Couros. (2019). Digital leadership defined. Retrieved 6 May 2020. From http://george couros.ca/blog/archives/3584
Kerr, D.H. (1976). The logic of ‘Policy’ and successful policies. Policy Sci. 7(1976). 351–363.
Muhammd Ubaidillah. (2018). Innovative Leadership by School Principals: Embedding Information Communication and Technology in Kuwaiti Schools. Journal of International Education Research. 8(4). 425-434.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and World.