แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
ACADEMIC ADMINISTRATION GUIDELINE BASED ON THE THREE PRINCIPLES OF PANNA SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER ROI ET PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 92 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นแล้วจึงสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดผลประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2. ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นรายด้าน ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ด้านการวัดผลประเมินผล และ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา(การวิจัยในชั้นเรียน) ตามลำดับ 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักปัญญา 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนควรสร้างบริบทความเป็นวิชาการที่เป็นเลิศในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม วัดและประเมินผลการเรียนรู้สอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตร กำกับ ติดตามนโยบาย กิจกรรม และภารกิจ ตามรายละเอียดที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ และปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). 2552 ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤษฎา ผลพล, เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2562). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการสู่มาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนของโรงเรียนวัดกระซ้าขาว. Journal of Education. 14(2). 1-10.
กัลยาณี ทบเทิบ, จตุพร เพ็งชัย, ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์. (2560). การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการบริหารงาน บุคคลในโรงเรียนสาธิต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(5). 1-11.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต.
กุลธิดา เลนุกูล. (2554). รายงานวิจัยเรื่องตัวชี้วัดการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี และภาษิต ประมวลศิลป์ชัย. (2547). ประสบการณ์และกลยุทธ์ของผู้บริหารในการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรส.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาทสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2563). รายงานประจำปี 2563. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.
สุธินี แซ่ซิน. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2547). กัลยาณมิตรนิเทศ. กรุงเทพฯ : ดับบลิว.เจ.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561- พ.ศ.2564). ร้อยเอ็ด : องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Miller Van. (1965). Administration of American School. New York : Mc Millan Publishing.