โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
PROGRAM ENHANCE LEADERSHIP FOR TEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE MAHASARAKHAM
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) เพื่อออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามเป็นการวิจัยแบบวิธีผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 323 คนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 6 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจาก 3 โรงเรียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม จำนวน 7 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .970 สภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .983 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของของภาวะผู้นำของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู การเป็นแบบอย่างทางการสอน การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตามลำดับ 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาและกิจกรรม แบ่งออกเป็น 4 Module ได้แก่ Module 1 การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู Module 2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา Module 3 การเป็นแบบอย่างทางการสอน Module 4 การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง 4) วิธีพัฒนา ประกอบด้วย การฝึกอบรมและสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการปฏิบัติงานจริง โดยจัดกิจกรรมตามหลักการพัฒนาแบบ 70-20-10 5) การวัดประเมินผลโปรแกรม ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กัญญาพัชร คำสะอาด. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
คุณาวุฒิ สิงห์ทอง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พวงเพชร ผัดกระโทก. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูผู้นําสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2564. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.