การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

DEVELOPING A PROGRAM TO STRENGTHENS IN DIGITAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER KHONKAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ณัฐณิชา ธนะสูตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านวิสัยทัศน์ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นมืออาชีพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเป็นมืออาชีพ การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมการเรียนรู้ และวิสัยทัศน์ 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ประกอบด้วย 3 Module ได้แก่ Module1 ความเป็นมืออาชีพ Module 2 การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมการเรียนรู้ และ Module 3 วิสัยทัศน์ ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกอร สมปราชญ์. (2559). ภาวะผู้นําและภาวะผู้นําการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์ชาติกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2563-2565). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

คณิน คำแพง. (2563). โมเดลภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น : โมเดลแข่งขันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและภาวะผู้นำแบบดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาญวิทย์ จันทะวงษ์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทวฤทธิ์ ผลจันทร์ (2564). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

ฝนทิพย์ หาญชนะ และ คึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี-ระยอง. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(6). 117-133.

วรวรรณอินทร์ชูและจิติมา วรรณศรี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 2. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565. จากhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/257324

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). แนวทางการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทักษะด้านดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565. จาก http://intranet.prd.go.th/prd_4/01/16_2_2564.pdf

สุกัญญา แช่มช้อย.(2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ออระญา ปะภาวะเต และ บุญชม ศรีสะอาด. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565. จาก https://so06.tcithaijo.org/index.php/jomld/article/download/248741/169558/896782

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565. จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Sheninger, E.C. (2014). Digital leadership : changing paradigms for changing times. United States of America : Corwin.
Published
2023-02-14
How to Cite
ธนะสูตร, ณัฐณิชา; จันทร์ศิริสิร, พชรวิทย์. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 247-258, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2652>. Date accessed: 18 jan. 2025.