การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
THE DEVELOPMENT OF A MIXED SUPERVISION MODEL TO ENHANCE PERFORMANCE IN THE TEACHING OF ENGLISH IN THE UPPER ELEMENTARY LEVEL FOR TEACHERS UNDER THE OFFICE OF YASOTHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายสำหรับครู 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายสำหรับครู 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถะด้านการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 125 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันรูปแบบ จำนวน 9 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญวิพากย์และตรวจสอบร่างรูปแบบ จำนวน 21 คน ระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 12 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 12 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 12 คน และนักเรียน จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ความคาดหวังด้านการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยรวมมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนภาษาอังกฤษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ได้รูปแบบการนิเทศที่มีชื่อว่า SIRWAN Model ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศการศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ องค์ประกอบที่ 1หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการของรูปแบบมี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สำรวจ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Survey = S) ขั้นที่ 2 ระบุประเด็นที่จะพัฒนา (Identify = I) ขั้นที่ 3 สร้างความสัมพันธ์อันดี (Relationship = R) ขั้นที่ 4 ให้ข้อมูล (Information = I) ขั้นที่ 5 ดำเนินการนิเทศ (Working = W) ขั้นที่ 6 ประเมินผล (Assessment = A) และขั้นที่ 7 วางแผนใหม่ (New planning = N) องค์ประกอบที่ 4 การประเมินรูปแบบ และ องค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3) ผลการประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนภาษาอังกฤษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 พบว่า (1) ผลการประเมินสมรรถนะครูผู้สอนภาษาอังกฤษหลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (2) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การผลิตการเลือกและการใช้หนังสือเพื่อสนองหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา เกียรติประวัติ. (2524). นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
กาญจนา จันทะพันธ์. (2554). ความต้องการการนิเทศการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2552). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(4). 2-15.
วิไลพร ชิมชาติ. (2560). แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษาสำนักการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). คู่มือการนิเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). ข้อค้นพบจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจการประกันคุณภาพภายในและเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกแก่ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เอ็นเอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สิริมา ทองใบ. (2558). การพัฒนาสมรรถนะการสอนครูภาษาไทยโดยใช้กระบวนการนิเทศการสอนแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายร่อนทองมงคล.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.