การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL READING ABILITY BY USING SQ4R LEARNING ACTIVITIES FOR THAI LANGUAGE SUBJECT AREA, PRATHOMSUKSA SIX STUDENTS
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ S04R สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4 R สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกสูงหนองเสียวหนองขี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ให้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงอ่านวิเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ S04R กลุ่มสาระภาษาไทย จำนวน 15 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4)แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Q4R มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามความพึงพอใจเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ S04R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 85.75/84.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R มีการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในภาพรวมนักเรียนมีความพึ่งพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กุลวิชญ์ เพิ่มศรี. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ชลธิดา หงส์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรยา ไชยรา. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุหลัน คํายิ่ง. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรูhแบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชยา เสนามนตรี. (2556). ผลการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มะลิวัลย์ อ่วมน้อย. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศรัญา บุญมี. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศรีสุดา จริยากุล และคณะ. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 5–การอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2561). ประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2561. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่งานศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2562). ประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่งานศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.
สิรีธร สุขเจริญ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ4R ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2536). วิธีการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.