การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL READING USING SIX THINKING HATS ON THAI LANGUAGE FOR PRATHOMSUEKSA 4

  • เจนจิรา ยลพล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สาคร อัฒจักร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3 เพื่อเปรียบเทียบการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 43 คน โรงเรียนข้านสี่แยกสมเด็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ตามรูปแบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ขั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลา 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบวัดแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t-test (Dependent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.00/83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

References

กรมวิชาการ. (2545).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ทัศนีย์ หนูนาค. (2550). ผลของการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ ที่มีต่อความสามารถคิดวิเคราะห์ และการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2540). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยงค์ นุชรอด. (2551). ผลการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัญจิต แก้วจำปา. (2544). ภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

ราเชน มีศรี. (2544). การพัฒนาทักษะการคิดด้วยเทคนิคหมวกเพื่อการคิด 6 ใบ:แนวคิดของเอ็ดเวอร์ดเดอโบโน การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ:แนวคิดวิธีการและเทคนิคการสอน 2. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.

โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประเทศระหว่างปีการศึกษา 2561-2562. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ.

ศุภณัฐ ชินรัตน์. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้ การอ่านวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2549). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกลวิธีการเรียนภาษาโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.

สุนันทา สายวงศ์. (2544). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและการสอนแบบซินดิเคท. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อรชา อุตทาสา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้เทคนิคหมวกความคิด 6 ใบของ Edward de Bono. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตากสินราชานุสรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Published
2024-12-24
How to Cite
ยลพล, เจนจิรา; อัฒจักร, สาคร. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 197-209, dec. 2024. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2647>. Date accessed: 03 jan. 2025.