การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลัก พรหมวิหาร 4 ของเทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
PEOPLE’S PARTICIPATION IN THE ADMINIYRATION OF LOCAL GOVERNMENT BASED ON FOUR SUBLIME STATES OF MIND CHAMPAKHAN SUB-DISTRICT MUNICIPALITY SUWANNAPHUM DISTRICT ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่นตามหลักพรหมวิหาร 4 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่นตามหลักพรหมวิหาร 4 จำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่นตามหลัก พรหมวิหาร 4 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลจำปาขัน มีจำนวนทั้งสิ้น 5,313 คน จัดทำกลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่นตามหลักพรหมวิหาร 4 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (อุเบกขา) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (เมตตา) 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่นตามหลักพรหมวิหาร 4 จำแนกตามเพศ อายุ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกับมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองท้องถิ่นตามหลักพรหมวิหาร 4 ประชาชนควรร่วมกันแก้ปัญหาและเสนอความต้องการของตนเองและของหมู่บ้าน เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมหรือโครงการของเทศบาลตำบลและยอมรับผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนา
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ธวัชชัย ตรีวรชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 23(1). 71-81.
ปัณณทัต บนขุนทด. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วสันต์ จันทจร. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักปลัดเทศบาลตำบลจำปาขัน จังหวัดร้อยเอ็ด .(2564). แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ (พ.ศ.2564). ร้อยเอ็ด : เทศบาลตำบลจำปาขัน.
สิทธิ์ธนัชท์ วารุณสหรัชภณ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Burton & Thakur. (1995). Management Today: Principles and Practice. New Delhi : Tata McGraw-Hil.
WHO and UNICEF. (1978). Strategies Utilized by School Superintendents in Establishing Participatory Linkages with the district Community. New York : The University of Wisconsin.