แนวทางการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
THE GUIDELINES ON ENHANCED PERFORMANCE MOTIVATION OF TEACHER UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้านราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 330 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเป็นแบบตอบสนองคู่ (Dual response format)5 ระดับ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNIModified = 0.076 เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับ ความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้แก่ด้านความสำเร็จในการทำงานด้านความก้าวหน้าในการทำงานด้านการได้รับการยอมรับนับถือด้านผลตอบแทนจากการทำงาน และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติตามลำดับ 2) แนวทางการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 มี 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้แก่ด้านความสำเร็จในการทำงานด้านความก้าวหน้าในการทำงานด้านการได้รับการยอมรับนับถือด้านผลตอบแทนจากการทำงาน และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ทั้ง 5 องค์ประกอบ มีแนวทางการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 13 แนวทาง
References
นงลักษณ์ ไชยเสโน และรุ่งโรจน์ อรรถานิพนธ์. (2554). Employee Engagement: การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กรฺ. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
พนิดา จิระสถิตถาวร. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรรณราย ทรัพยะประภา. (2529). “การจูงใจ” จิตวิทยาการบริหารบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ฟ้าวิกร อินลวง. (2561). การจัดการทุนมนุษย์สมัยใหม่ ยุคเจนเนอเรชั่น วาย ระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษา สถาน ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(ฉบับพิเศษ). 43-55.
วัชริศ เจริญกุล. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2526). การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2534). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). รายงานการตรวจเยี่ยมและพบปะข้าราชการ เพื่อสอบถามปัญหา อุปสรรคในการทำงาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
เสถียร เหลืองร่าม. (2526). มนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ.
Herzburg, F., Banard Mausner and B.B Syndermen. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley and Son.
Krejcie, R.V.& Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(1). 607-610.