แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF SCHOOL ADMINISTRATION IN THE DIGITAL AGE OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE OFFICE OF KHONKAEN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 3
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา 31 คน และครูผู้สอน จำนวน 288 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตอบสนองคู่ ชนิด 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) = 0.21 เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านการมีวิสัยทัศน์ในยุคดิจิทัล ด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพในยุคดิจิทัล ด้านความเข้าใจในความรู้และทักษะความสามารถของคนในสถานศึกษา ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ และด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 มีจำนวน 22 แนวทางและการประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78
References
ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร. 13(2). 286-294.
ปาณัสม์ ชุมภุยาละ. (2563). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พระราชวุธ ปญญาวชิโร (เพชรไพร). (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตมหาจุฬาขอนแก่น. 6(2). 130-142.
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2550). การนิเทศการศึกษา : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2). 150-166.
มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2561). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(1). 22-30.
โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. (2564). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 (พ.ศ. 2563-2565). ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา รอดระกำ. (2560). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W.. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(1). 607-610.