ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
FACTORS AFFECTING THE PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY OF SCHOOLS UNDER THE NAKHONRATCHASIMA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 6
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ2) ศึกษาปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสนับสนุนที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านครูผู้สอนและปัจจัยด้านสนับสนุนกับความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 การเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้างานในสถานศึกษา จำนวน 338 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยศึกษารายกรณีโรงเรียนต้นแบบที่ได้รับการยอมรับในการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารสถานศึกษาจำนวน 5ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นแบบสอบถามปลายเปิด
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสนับสนุนความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มีความสัมพันธ์กับความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสนับสนุน ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เกศทิพย์ ศุภวานิช และคณะ. (2560). คู่มือการอบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
คอดารียะห์ เสกเมธี. (2551). การศึกษาเทคนิคการจัดการเรียนการสอนของครู: กรณีศึกษาครู ที่ได้รับรางวัลพระราชทานในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอสิลาม จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ทรรศนีย์ วราห์คำ.(2554).การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บังอร เสรีรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 17(1). 115-122.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครู สู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว. (2558). PLC คืออะไร? สำคัญอย่างไร?. COACHING & MENTORING. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริรักษ์ นักดนตรี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษา ชูชาติ และคณะ. (2559). ทิศทางและ โจทย์วิจัยของการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
Calcasola, K. S. (2009). The relationship between collective teacher efficacy and professional learning communities. Doctorate of Educational Leadership Dissertation in Educational Leadership. Central Connecticut State University.
Cormier, R. (2009). Professional learning committees: Characteristics, principals, and teachers. Department of Educational Foundations and Leadership. University of Louisiana : Lafayette.
Senge, P. M. (2006). The fifth discipline: The arts & practice of the learning organization. New York : Doubleday.