การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
MANAGEMENT OF THE STUDENT CARE AND SUPPORT SYSTEM BASED ON THE FOUR SUBLIME STATES OF MIND OF SCHOOLS UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น จำนวน 335 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการส่งต่อ รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงานโดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 สรุปได้ว่า สถานศึกษาควรมีการบันทึกการใช้ทะเบียนสะสม คัดแยกกลุ่มนักเรียนที่มีความเสี่ยงในหลายๆ ปัจจัยคัดแยกกลุ่มนักเรียนที่มีความเสี่ยงในหลายๆ ปัจจัย จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนเพื่อปลูกฝังคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษาเบื้องต้นกับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างทั่วถึงติดตามประเมินผลสรุปรายงาน ในการทำกิจกรรม อบรม พัฒนา นักเรียน ครู ทุกครั้ง เพื่อใช้นำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ยุวดี โกสุมาลย์. (2560). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศตพร เลิศล้ำไตรภพ. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามทัศนะของครูโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสินปุน โคกหาร พรุเตียว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2563). ข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2564. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุลาลัย ทองดี และธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 3(1). 45-53.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.