การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

DEVELOPMENT OF THE ACADEMICAFFAIRS ADMINISTRATION OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE DIGITAL ERA UNDER SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • วารุณี ภาวงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และเพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 154 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.945 และ 0.962 ตามลำดับ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับชปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การนิเทศการศึกษา การวัดผลและประเมินผล การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีองค์ประกอบ 6 ด้าน และมีแนวทาง 32 แนวทาง ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 4 แนวทาง ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 5 ทาง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 5 แนวทาง การวัดผลและประเมินผล 4 แนวทาง การนิเทศการศึกษา 8 แนวทาง การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6 แนวทาง โดยการพัฒนาแนวทางโดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุดและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกวรรณ สุภาราญ. (2562). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/37

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

บัญชา วงศ์คําภา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.

รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การเขียนแผนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยส์.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(1). 535-560.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 (พ.ศ.2563-2565). สกลนคร :สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาณี เส็งศรี. (2560). ICT: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 9(1). 70-80.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2565.
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/ 52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir—
Published
2023-02-24
How to Cite
ภาวงค์, วารุณี; จันทร์ศิริสิร, พชรวิทย์. การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 2, p. 38-49, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2635>. Date accessed: 03 jan. 2025.