การพัฒนาโปรแกรมด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
THE DEVELOPMENT OF THAI LEARNING MANAGEMENT PROGRAM FOR TEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE NAKHON PHANOM
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม 2) พัฒนาโปรแกรมด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 118 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.933 และ 0.996 ตามลำดับ ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับมากที่สุด ตามลำดับ และเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออกและมีส่วนร่วมของผู้เรียน การมีสื่อการเรียนรู้และใช้ประกอบจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม การฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามลำดับ 2. โปรแกรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดประสงค์ 3) เป้าหมาย 4) เนื้อหากิจกรรม 5) วิธีการดำเนินการพัฒนา และ 6) การประเมินผล โดยมีเนื้อหา 5 Module ได้แก่ Module 1 การฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ Module 2 การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออกและมีส่วนร่วมของผู้เรียน Module 3 การมีสื่อการเรียนรู้และใช้ประกอบจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม Module 4 การฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และ Module 5 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และใช้วิธีการพัฒนาแบบ 70-20-10 ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ทิพาธร ศิริเม. (2564). แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรนิษฐา เลขนอก. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันภาษาไทย. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2529). การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สรัลพร ถนัดรอบ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (24564). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565. นครพนม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.
สุรัมภา เพ็ชรกองกุล. (2560). กระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน
คิดวิเคราะห์ ของครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Lombardo, Michael M. and Eichinger, Robert W. (1996). The Career Architect Development Planner. Minneapolis : Lominger.