แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
GUIDELINES THE MITIGATING THE LEARNING LOSSES OF SMALL SIZE SCHOOLS UNDER THE KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการสอนใหม่ และความต้องการจำเป็นในการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการสอนใหม่ การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู การส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 2. แนวการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีองค์ประกอบ 4 ด้าน มีแนวทาง 26 แนวทาง ได้แก่ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มี 8 แนวทาง ด้านการส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน มี 6 แนวทาง ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู มี 6 แนวทาง และด้านการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการสอนใหม่ มี 6 แนวทาง โดยแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ระดับมากที่สุด
References
ยศวีร์ สายฟ้า. (2565). Learning Loss ภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2565. จาก https://research.eef.or.th/learning-loss-recession/
วิจารณ์ พานิช, วิมลศรีศุษิลวรณ์. (2563). ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New normal. กรุงเทพมหานครกรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2 ระยะ 5 ปี (ระยะแรก 3 ปี พ.ศ.2563-2565). กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 : สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Alban Conto, C., Akseer, S., Dreesen, T., Kamei, A., Mizunoya, S., &Rigole, A. (2021). Potential effects of COVID-19 school closures on foundational skills and Country responses for mitigating learning loss. International Journal of Educational Development. 87(202). 1-11.