ขนบและพัฒนาการทักษะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้นทำนองขอนแก่นสู่ชุมชนเพื่อความยั่งยืน
TRADITION AND DEVELOPMENT CANE BLOWING SKILLS LAM THANG SAN THAMNONG KHON KAEN TO THE COMMUNITY FOR SUSTAINABILITY
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของขนบและพัฒนาการทักษะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้นทำนองขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล 2 วิธี ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาขนบและพัฒนาการทักษะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้นทำนองขอนแก่น มีพัฒนาการมาจากวิถีชีวิตและความเชื่อซึ่งพัฒนาการมาจากลำผีฟ้าซึ่งเป็นความเชื่อของคนอีสานว่าบรรพบุรุษอยู่เมืองฟ้าเมืองแถน จะเป่าแคนในลายสร้อยน้อยเพราะตรงกับเสียงหมอเย้าที่เป็นหญิง และต่อมาลำผีฟ้าก็ได้มีพัฒนาการเป็นหมอลำพื้น ซึ่งกลอนลำผีฟ้าจะเป็นกลอนลำที่เป็นภาษาท้องถิ่น ส่วนกลอนลำพื้นจะมีคำบาลี-สันสกฤตผสมกับภาษาท้องถิ่นพัฒนาเป็นลำทางสั้น ลำหย่าวหรือลำเดินดง ลำประยุกต์ ลำทางสั้นกลอนไหว้ครูหมอแคนจะฟังทำนองลำ ส่วนหมอลำจะลำให้ตรงกับเสียงแคน ลำประยุกต์หมอลำจะลำตามทำนองดนตรีและเสียงดนตรี
References
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2543). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ธีระพงษ์ โสดาศรี. (2523). บทบาทของสำนักงานหมอลำในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น : สำนักงานหมอลำในอำเภอเมืองขอนแก่น.
ประจวบ แสนกลาง. (2523). คู่มือฝึกแคนเบื้องต้น. มหาสารคาม : โรงเรียนบรบือวิทยาคาร.
ปัญญา รุ่งเรือง. (2525). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
พรชัย เขียวสาคู. (2536). ลำเพลินบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรพล เนสุสินธุ์. (2555). แคนของกลุ่มชาติพันธ์ไตในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: แหล่งกำเนิดการแพร่กระจาย และแนวทางการสืบทอดและพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.