การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญา
HUMAN RESOURCE MANAGEMENT IN ACCORDING TO BUDDHIST PHILOSOPHY
Abstract
บทความวิชาการเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) เพื่อให้การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพตามแนวพุทธปรัชญา 3) เพื่อให้บุคคลในองค์กรได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการนำหลักธรรมตามแนวพุทธปรัชญามาประยุกต์ใช้ในการทำงานจนเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงาน เริ่มตั้งแต่กระบวนการจ้าง ส่งเสริม และพัฒนามนุษย์ เพื่อให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กร ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นกระบวนการวิเคราะห์งาน วางแผน บรรจุคนเข้าทำงาน สรรหาคนที่เหมาะสมมาทำงาน การจัดการปฐมนิเทศและฝึกอบรม บริหารค่าจ้างและเงินเดือน จัดสรรสวัสดิการและแรงจูงใจ ประเมินผลการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาความขัดแย้งและสื่อสารกับบุคลากรทุกระดับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ทั้งความรู้ ภาวะผู้นำ ทักษะการเจรจาต่อรอง ซึ่งก่อนหน้านี้นี้เรียกว่าการบริหารงานบุคคล เพื่อให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์บรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรกำหนดและดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องรู้จักนำหลักธรรมทางพุทธศาสนาตามแนวพุทธปรัชญามาประยุกต์ใช้สำหรับบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรมีความสงบ มีความสุขและสันติภาพ หลักธรรมที่สำคัญและเหมาะสมกับกาบริหารทรัพยากรมนุษย์เช่น อธิปไตย 3 สังคหวัตถุธรรม 4 และอปริหานิยธรรม 7
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 23. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2543). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.
Connock, Stephen. (1993). HR Vision; Managing a Quality Workforce. London : Institute of Personnel Management.
Desimone, Randy L. (2002). Human Resource. 3rd ed. Harcourt : College Publishers.