ประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
THE ROLE OF PUBLIC PARTICIPATION IN THE MANAGEMENT OF FOREST RESOURCES IN THE BAN HUA BUENG COMMUNITY SAI MUN SUBDISTRICT, NAM PHONG DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากประชากรกลุ่มตัวอย่างในชุมชนป่าไม้บ้านหัวบึง 210 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเจาะลึก จากผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกประชากรกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีเจาะจงกระจายตามความเหมาะสมของสถานการณ์ การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่อเดือน โดยภาพรวม 4 ด้าน มีเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการวิจัยเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง จำนวน 210 คน โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน ต้องการให้หน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกับประชาชนในพื้นที่ เข้ามาช่วยเหลือจัดทำแผนวางแผนการดำเนินการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึง 2) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติ/ดำเนินการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชน ต้องการให้มีการส่งเสริมให้หน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ เข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูปลูกป่าไม้ชุมชนบ้านหัวบึงเพิ่มเติมให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นป่าโปร่ง เหมาะสมกับการอนุรักษ์ และเพื่อการท่องเที่ยว 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ ควรมีหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ เข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมในการกส่งเสริม อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ชุมชน ให้การช่วยเหลือ ดูแล และช่วยกันอนุรักษ์ รักษาป่าไม้อันเป็นสมบัติที่หวงแหนของชุมชน และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ต้องการให้หน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ จัดระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการป่าไม้ชุมชน ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการและให้เป็นไปตามข้อเสนแนะตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ
References
กาญจนา คุ้มทรัพย์. (2556). สิทธิชุมชน: สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท้องถิ่น. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
กาญจนา คุ้มทรัพย์. (2558). การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดอนหมู ประโยชน์ของป่าไม้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการกรมป่าไม้ กรมป่าไม้.
กาญจนา คุ้มทรัพย์. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา การจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดการจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 36(1). 111-136.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ปรางค์ทอง ราศี, พจ ตู้พจ, อำนวย สังข์ช่วย. (2563). การอนุรักษ์ป่าชุมชนตามแนวประชารัฐบ้านคอกคี ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 9(2). 1-13.
เพชรอำไพ มงคลจิรเดชม, ศุภรานันท์ ดลโสภณ, สุชาดา กิจเกิดแสง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้าลาธารและป่าชุมชนเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 7(1). 586-598.
วิภาวรรณ มะลิวรรณ, อภิชาติ ใจอารี, ประสงค์ ตันพิจัย. (2560). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนเขาขลุง ตำบลเขาขลัง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(1). 694–708.
ศูนย์ป่าไม้จังหวัดขอนแก่น. (2564). รานงานประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2565. https://anyflip.com/tnuul/zywe/
สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2543). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. กรุงเทพฯ : จามจุรี.
อำนวย สังข์ช่วย. (2563). การบริหารจัดการอย่างยั่งยืนของประชาชนเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูถ้ำภูกระแต อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 18(1). 36-48.
Chorley, R.J. and Haggett, P. (1967). Models in geography. London : Methuen.