แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

THE GUIDELINES FOR SUSTAINABLE TOURISM DEVELOPMENT IN ACCORDANCE WITH THAILAND 4.0 POLICY IN HUA HIN DISTRICT, PRACHUAP KHIRI KHAN PROVINCE

  • อาทิตย์ อินภูวา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จังหวัดเพชรบุรี
  • วลัยพร ชิณศรี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จังหวัดเพชรบุรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอำเภอหัวหิน 2) เปรียบเทียบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอำเภอหัวหิน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษานโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอำเภอหัวหิน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของอำเภอหัวหิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอำเภอหัวหิน จำนวน 384 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอำเภอหัวหิน อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอำเภอหัวหิน ต่างกัน 3) นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ และด้านความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอำเภอหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านเทคโนโลยี มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านนวัตกรรม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของอำเภอหัวหิน พบว่า ควรมีการปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้คงสภาพและคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ควรปรับปรุงพัฒนาศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน ควรประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ควร

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนปฏิบัติราชการรายปี 2565. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565. จากhttps://www.mots.go.th/download/StrategyAndPolicy/AnnualGovActionPlan (2565)MOTS.pdf

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565 จาก http://www. prachuapkhirikhan.go.th/2016/ strategy/

กิตติภัฏ ฐิโณทัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ :สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

นาตยา บุตรอยู่. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปรัญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นาวา มาสวนจิก และคณะ. (2562). การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยธิดา ปาลรังสี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(2). 99-110.

พริมาดา บัวหลวง. (2564). ปัจจัยความสามารถด้านนวัตกรรมตลาดของผู้นำแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15(1). 54-65.

มติชนออนไลน์. (2564). เช็กความพร้อม 'หัวหิน รีชาร์จ' เปิดเที่ยว แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาด. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.matichon.co.th

วรปภา อารีราษฎร์ และคณะ. (2562). รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 6(1). 137-146.

วีณา ซุ้มบัณฑิต. (2562). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมรพรรณ เรืองสวัสดิ์ และวิไลลักษณ์ รักบำรุง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 6(1). 7-21.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). จำนวนนักท่องเที่ยวอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565. จาก www.nso.go.th

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3). 2,055-2,068.

อัจฉรพร เฉลิมชิต และคณะ. (2562). ความสามารถนวัตกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวบนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในภาคตะวันออก. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

DASTA (Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (2010). People in Prajuab-Kirikhan Province View Hua Hin Strengths but Weak Inside. Retrieved 31 July 2022, From http://www.oknation.net

Guilford, J. B. (1959). Personality. New York : McGraw-Hill.

Layton, D. (1994). Research in education. 4th ed. New Jersey : Prentice Hall.

Robert, M. (1995). Product Innovation Strategy Pure and Simple : How Winning Companies Outpace Their Competitors. New York : McGraw-Hill.

Swarbrooke, J. and Horner, S. (1999). Consumer Behavior in Tourism. Oxford : Butterworth Heinemann.

World Tourism Organization. (1998). Guide for Local Authorities on Development Sustainable Tourism. Madrid : World Tourism Organization.
Published
2023-06-27
How to Cite
อินภูวา, อาทิตย์; ชิณศรี, วลัยพร. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 538-550, june 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2479>. Date accessed: 03 july 2024.