การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานเป็นทีม ในรายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

THE DEVELOPMENT OF COOPERATIVE LEARNING ACTIVITIES TO ENHANCE TEAMWORK ABILITY IN THAI DANCE CLASS OF GRADE 5 STUDENTS

  • อรปภา ศรียาฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สัจธรรม พรทวีกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชานาฏศิลป์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชานาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จำนวน 37 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2/2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานเป็นทีมในรายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 85.07/82.75 2) ความสามารถในการทำงานเป็นทีมในรายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทำงานเป็นทีมในรายวิชานาฏศิลป์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

เกริกเกียรติ นรินทร์. (2563). การพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคเรียนรู้แบบร่วมมือ TGT เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการทำงานเป็นทีม วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจลักษณ์ อ่อนศรี. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์พิชชา ศาสตราชัย. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิจารณ์ พาณิชย์. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพับลิเคชั่น.

วิวัฒน์ เพชรศรี. (2563). รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 9(1). 55-61.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.gotoknow.org/posts/341272

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เหนือดวง พูลเพิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของซูซูกิร่วมกับการเรียนรูแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการขับร้องและความสามารถในการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อนุชา ปิ่นกระโทก. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้เว็บสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลดารณีท่าบ่อ. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 19(1). 60-62.

อภิญญา บุญหล้า. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGT เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรชร วัฒนกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Johnson, D. W., Johnson, R. T. (1994). An overview of cooperative learning. In J. S. Thousand, R.A. Villa, & A.I. Nevin (Eds.), Creativity and collaborative learning. Baltimore, Maryland : Paul H. Brookes Publishing Co.

Johnson, D. W., Johnson, R. T. and Hollubee, E. J. (1994). The Nuts and Bolt of Cooperative Learning. Minnesota : Interaction Book.
Published
2023-06-27
How to Cite
ศรียาฤทธิ์, อรปภา; พรทวีกุล, สัจธรรม. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานเป็นทีม ในรายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 523-537, june 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2478>. Date accessed: 03 july 2024.