รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชน ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมพละ 5)
QUADRAPEDUL EDUCATION MANAGEMENT MODEL IN ACCEPTANCE OF NEW NORMALITY OF THAI YOUTH IN THE 21st CENTURY WITH BUDDHIST PRINCIPALS UNDER BALA 5
Abstract
บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชนไทย ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมพละ 5) 2) เพื่อสร้างรูปแบบและประเมินการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชนไทย ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมพละ 5) และ 3) เพื่อนำเสนอคู่มือการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชนไทย ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมพละ 5) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชนไทย ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมพละ 5) 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารวิชาการ 2) ด้านการบริหารงบประมาณ 3) ด้านการบริหารงานบุคคล 4) ด้านการบริหารทั่วไป โดยมุ่งศึกษาประเด็น ที่เกี่ยวข้องโดยได้ใช้หลักแนวคิดในทางพระพุทธศาสนาโดยใช้หลักธรรมพละ 5 และด้านการบริหารวิชาการมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด 2. รูปแบบและประเมินการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชนไทย ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมพละ 5) จำนวน 4 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 45 ตัวชี้วัด ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ผ่านเกณฑ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 3. คู่มือการบริหารจัดการศึกษาจตุภาคีรับความปกติใหม่ของเยาวชนไทย ในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมพละ 5) คู่มือฉบับนี้ประกอบด้วย ส่วนประกอบต่าง ๆ และเนื้อหาสาระ ด้านรูปแบบและการใช้ภาษา ด้านการออกแบบ ด้านรูปเล่ม ด้านประโยชน์ความเป็นไปได้จากการนำคู่มือไปใช้
References
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปะการจัดการ. 4(3). 1783-1795.
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2560). บทบาทเชิงรุกของผู้นําการศึกษาไทย .ในรวมบทความความเป็นผู้นําทางการศึกษารวบรวมโดย ไพฑูรย์ สินลารัตน์และนักรบ หมี้แสน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2540). เบญจศีลเบญจธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมศาสนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุรศักดิ์ อรรถจินดา. (2563). การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั่วไป และภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม. สารนิพนธ์การศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Quilter-Pinner, H. and Ambrose, A. (2020). The new normal: The future of education after COVID-19. Institute for Public Policy Research. United Kingdom : London.