การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักอิทธิบาท 4 : กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
THE MANAGEMENT OF CHILD DEVELOPMENT CENTERS ACCORDING TO IDDHIPADA PRINCIPLE 4 : CASE STUDY OF CHILD DEVELOPMENT CENTERS UNDER THE MUNICIPALITY OF NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักอิทธิบาท 4 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักอิทธิบาท 4 : กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ระเบียบการวิจัยวิธีวิทยาแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 285 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test) การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตามหลักอิทธิบาท 4 : กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแล เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตามหลักอิทธิบาท 4 : กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตามหลักอิทธิบาท 4 : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช (1) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักฉันทะ คือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลควรสร้างบรรยากาศการจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อผู้ปกครองและเด็กเล็ก (2) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหหลักวิริยะ คือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลควรเพียรพยายามในการดูแลบำรุงอาคารสถานที่ให้ดูสะอาด สะดวก สบาย น่าเรียนมีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักจิตตะ คือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแล ใส่ใจในการกำกับดูแล ตรวจสอบการบริหารจัดการงานงบประมาณเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายที่ตรงจุดมุ่งหมายของการจัดสรรงบประมาณ และเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์โปร่งใสในการบริหารจัดการ (4) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักวิมังสา คือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแล ควรมีการคิดวิเคราะห์ถึงแผนงานและสามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาก่อนและหลังเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการภาระงาน
References
พระจักร จกฺกวโร. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับปรับปรุงและขยายความ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบัญญัติ สุจิตฺโต. (2563). รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 7(3). 254-265.
เพ็ญชลิตา ขำสุนทร. (2564). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.