การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง : แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในบริบทท้องถิ่นนิยม

LIGHT AND SOUND SHOW, THE LEGEND OF THE CITY OF FA DAET SONG YANG : GUIDELINES CREATIVE ECONOMY IN THE CONTEXT OF LOCALISM

  • กวีชัย บุญวงค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธัญลักษณ์ มูลสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาพัฒนาการ การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง งานบูชาพระธาตุยาคู ในบริบทท้องถิ่นนิยม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้รู้จำนวน 4 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 30 คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และนำเสนอในแบบพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า การแสดงแสงสีเสียงตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นการแสดงที่ตอบสนองนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองรอง ได้กำหนดให้จัดการแสดงในรูปแบบ แสง สี เสียง ที่เกี่ยวกับตำนาน เมืองฟ้าแดดสงยาง และพระธาตุยาคู เพื่อสื่อให้เห็นถึงเรื่องราวของตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง และนาฏกรรมประกอบระหว่างการการแสดง และได้มีมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงให้ตัวละครมีบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยมีการสอดแทรกเนื้อหาปัจจุบันเข้าไปในแต่ละช่วงการแสดง 2) การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านการเล่าเรื่องราวง โดยให้เห็นถึงพัฒนาการในด้านรูปแบบการแสดง รูปแบบนาฏกรรม รูปแบบบทละคร รูปแบบดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง และองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมในทุก ๆ ปี 3) รูปแบบการนำเสนอการแสดงและองค์ประกอบต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวการกระตุ้นเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน อันนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในบริบทท้องถิ่นนิยม การศึกษาพัฒนาการของการแสดงแสง สี เสียง และรูปแบบการแสดง และสื่อผสมที่ปรากฏในการแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จะทำให้เกิดความรู้ทางด้านการจัดการแสดง และเทคโนโลยีแบบผสมผสานซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชุมชน และสามารถสร้างสรรค์ ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจในงานให้มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว.

ชูวิทย์ มิตรชอบ. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. (2555). สืบสานตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง. กาฬสินธุ์ : สำนักการศึกษา.

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และคณะ. (2544). ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. ขอนแก่น :โรงพิมพ์คลังนาวิทยา.

พรสวรรค์ พรดอนก่อ. (2554). พุทธบูชาพระธาตุยาคู. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
Published
2023-06-27
How to Cite
บุญวงค์, กวีชัย; มูลสุวรรณ, ธัญลักษณ์. การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง : แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในบริบทท้องถิ่นนิยม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 455-466, june 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2469>. Date accessed: 03 july 2024.