การบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

MANAGEMENT ACCORDING TO THE PRINCIPALS OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE NAKHON SI THAMMARAT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • พนิดา ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 358 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านภาวนีโย (เป็นผู้มีความรู้) รองลงมาคือ ด้าน วัตตา จะ (ชี้แจงเหตุผล โน้มน้าวใจ) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านคัมภีรัญจะ กะถะ กัตตา (ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย) 2) ระดับการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่ดี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านขอบข่ายและภารกิจของการบริหารการศึกษา 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ความถี่สูงสุดคือ ผู้บริหารควรเป็นผู้มีความรู้ รองลงมา ผู้บริหารควรบริหารโรงเรียนให้มีความก้าวหน้าและผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ณัฏฐณิชา โคทังคะ. (2561). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

นารีรัตน์ กว้างขวาง. (2561). การบริหารงานโรงเรียนตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณธศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

ประภาษ จิตรักศิลป์. (2561). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุต.โต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัท พรอพเพอร์ตี้ พริ้นท์ จำกัด.

ภัทรกร มิ่งขวัญ. (2561). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนาร่อง รูปแบบที่คัดสรร. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส พี เคเปเปอร์แอนด์ฟอร์ม.

วีรพงษ์ ไชยหงส์. (2563). ปรัชญาคุณธรรมสำหรับครู. เชียงราย : สถาบันราชภัฎเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Published
2024-06-24
How to Cite
ขวัญเมือง, พนิดา; แสงอัมพร, สรัญญา; อุนจะนำ, สันติ. การบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 435-444, june 2024. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2467>. Date accessed: 22 nov. 2024.