การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
MODEL DEVELOPMENT OF THE ACADEMIC ADMINNISTRATION TO ENHANCE THE STUDENT ACHIEVEMENT OF SCHOOLS IN NAKHON SI THAMMARAT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสถานศึกษา 2) เพื่อร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการดำเนินงานของโรงเรียนสอดคล้องกันในทุกประเด็นของการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ (2) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ (3) ด้านการพัฒนาทีมงานวิชาการ (4) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดดุลยภาพ และ (5) ด้านขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และตรวจสอบยืนยัน ได้ผลสรุปดังนี้ จากขอบข่ายการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ (2) กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ (3) การวัดประเมินผล (4) การวิจัย เพื่อการพัฒนา (5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรม (6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (7) การนิเทศการศึกษา (8) การแนะแนวการศึกษา (9) การพัฒนาระบบประกัน (10) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน (11) การประสานความร่วมมือ (12) การส่งเสริมสนับสนุนวิชาการกับสถานศึกษาอื่น และ (13) การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในการตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ได้ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน มีตัวบ่งชี้รายการประเมินทุกองค์ประกอบ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรัญญาลักษณ์ ภู่เสือ. (2563). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ปริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพ ภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. อุบลราชธานี : อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2553). คู่มือการจัดการความรู้ การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุนทร เกิดแก้ว. (2541). การบริหารโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
อดุลย์ สุชิรัมย์. (2555). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Keeves, P.J. (1988). Educational research Methodology and measurement: An international handbook. Oxford : Pergamon.