การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียน โครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP)

THE DEVELOPMENT OF SUCCESS EFFECTIVE MANAGEMENT IN SCIENCE MATHEMATICS AND TECHNOLOGY PROGRAM (SMTP)

  • ศุภรัสมิ์ สุวรรณรัตน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) 2) เพื่อร่างรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 492 คน จากประชากร 939 คน ประกอบไปด้วยผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองของนักเรียนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี  โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) จากกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน เพื่อร่างคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) แล้วนำคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) ไปประเมินความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่าน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) ร่างรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) ด้านการจัดหลักสูตรที่เป็นความสามารถพิเศษ (2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน (4) ด้านการพัฒนาความสามารถเฉพาะทางของครู (5) ด้านการใช้สื่อในห้องเรียน และ (6) ด้านการคัดเลือกนักเรียนห้องเรียนพิเศษ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี(SMTP) จากผู้เชียวชาญทั้ง 9 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูที่เป็นหัวหน้างาน ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนโครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี(SMTP) มีความเหมาะตามองค์ประกอบทั้ง 10 ข้อ โดยภาพรวม มีค่าร้อยละ 98.89 การสร้างรูปแบบผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการ  2) ร่างรูปแบบการบริหารจัดการ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566. จากhttps://www.me.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/

จินตนา ถาคำและคณะ. (2561). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียน พิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร สาขาวิชาการบริหารและการจัดการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 8(1). 137-158.

ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2562). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 872-886.

ทิพวรรณ พวงมาลัย (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 14(27). 57-65.

ฤณชา ศิลาจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารงานวชาการของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 11(2). 11-22.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อนุรัตน์ ขำจันทร์. (2565). องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุโขทัย. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(6). 262-272.

Mescon, Michael H., Albert, Michael. and Khedouri, Franklin. (1985). Management : Individual and Organizational Effectiveness. New York : Harper & Row.
Published
2029-06-09
How to Cite
สุวรรณรัตน์, ศุภรัสมิ์; อุนจะนำ, สันติ; เศวตวรโชติ, ทิพมาศ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียน โครงการพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP). วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 410-423, june 2029. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2464>. Date accessed: 03 july 2024.