การพัฒนาคู่มือการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

THE DEVELOPING OF MANUAL FOR THE STUDENT AFFAIRS MANAGEMENT ADMINISTRATION OF SCHOOL UNDER THE EDUCATION OFFICE OF ROI ET MUNICIPALITY

  • ณัฐวุฒิ วินทะไชย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .618–.894 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินค่าความสอดคล้องของคู่มือ การประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 24 คน และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนรองลงมา ด้านการดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน 2. ผลการพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา พบว่า องค์ประกอบของคู่มือ ได้แก่ 1) ปก 2) คำนำ 3) สารบัญ ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผลส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ส่วนที่ 3 สาระสำคัญส่วนที่ 4 องค์ประกอบการบริหารกิจการนักเรียนส่วนที่ 5 กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการนักเรียนส่วนที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จและ เอกสารอ้างอิง 3. ผลการประเมินคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา พบว่า คู่มือมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้โดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านประโยชน์จากการนำคู่มือไปใช้ รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกแบบ

References

ณฐพัฒน์ ถุงพลอย. (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(1). 49-61.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดวงแก้ว จันทรสูตร. (2554). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดฝ่ายอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 127 (ตอนที่ 45 ก), หน้า 1-8.

ศตวรรษ กฤษณา. (2563). การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. (2564). รายงานการปฏิบัติงานกองการศึกษา. ร้อยเอ็ด : สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด.

สิริกร ประสพสุข. (2555). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนการเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2023-02-23
How to Cite
วินทะไชย, ณัฐวุฒิ; ลดาวัลย์, กฤตยากร. การพัฒนาคู่มือการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 351-362, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2458>. Date accessed: 03 july 2024.