แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
SCHOOL ADMINISTRATION GUIDELINES TO LEARNING ORGANIZATION IN SCHOOLS UNDER KHONKAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต2 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 302 คน แบ่งเป็นผู้บริหาร จำนวน 37 คน ครูผู้สอน จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตอบสนองคู่ (Dual response format) ชนิด 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 18 แนวทาง
References
นครินศร์ จับจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วิกรณ์ รักษ์ปวงชน. (2551). กระบวนยุทธ์นักบริหาร. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ.
วิจารณ์ พานิช. (2550). วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. จุลสารอุตสาหกรรมสัมพันธ์. 73. 2-3.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2563 – 2565). ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). กลยุทธ์ของ สพฐ. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม : ตักศิลาการพิมพ์.
อำนาจ ศรีพูนสุข. (2551). องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bennett, J. K., & Brien, M. J., (1994). The building blocks of the learning Organization. Training. 31(6). 41-48.
Gephart et al. (1996). Learning Organizations come alive. Training & Development. 50(12). 34-45.
Kaiser, Sandra M. (2000). Mapping the learning organization: Exploring a model of organization learning. (Unpublished doctoral dissertation in Human Resource Education and Workshop Development). Louisiana State University and Agricultural & Mechanical College.
Marsick, V. J., & Watkins, K. E. (2003). Demonstrating the Value of an Organization's Learning Culture: The Dimensions of the Learning Organization Questionnaire. Advances in Developing Human Resources. 5(2). 132–151.
Michel J. Marquardt. (2002). Building the Learning Organization : A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York : McGraw-Hill.
Pedler, Burgoyne & Boydell. (1991). The Learning Company. A strategy for sustainable development, London : McGraw-Hill.
Senge, P. M. (2000). The fifth discipline : The art and practice of the learning organization. New York : Currency Doubleday.