การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพโรงเรียนโสตศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
DEVELOPMENT OF GUIDELINES QUALITY ACADEMIC ADMINISTRATION SCHOOL FOR THE DEAF IN THE NORTHEAST
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนา แนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ข้าราชการครู ซึ่งเป็น บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่โรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 113 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารงานวิชาการโดยภารวมอยู่ในระดับมาก 2. การศึกษาการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้มีละเอียดดังนี้ 2.1 ความเหมาะสมการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพของโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับความเหมาะสมจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ การนิเทศภายใน การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับชุมชนและองค์กรอื่น การวางแผนงานด้านวิชาการ การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ 2.2 ความเป็นไปได้การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับความเป็นไปได้จากมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวางแผนงานด้านวิชาการ การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับชุมชนและองค์กรอื่น การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การนิเทศภายใน การพัฒนาส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ การจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). ทฤษฎีพหุปัญญาสู่การเข้าถึงอัจฉริยภาพของนักเรียนทุกคน. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/78233/-blog-teaartedu-teaart-
นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2555). การวิจัยทางการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการฝกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2563). สถานศึกษาในสังกัด สศศ. โรงเรียนเฉพาะความพิการ.สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565. จาก http://special.obec.go.th/HV3/belong1.php
สุพล พรเพ็ง. (2561). การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
หทัย ศิริพิน. (2558). ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. การศึกษาอิสระมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
UNESCO. (1981). Quality of Life: an Orientation of Population Education. Bangkok : UNESCO.