ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สหวิทยาเขตหนองสองห้อง–พล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
THE INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS AFFECTING TO TEACHING EFFICIENCY OF TEACHERS IN NONGSONGHONG - PHOL UNITED CAMPUS UNDER THE AUTHORITY OF THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE KHONKAEN
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตหนองสองห้อง–พล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการสอนของครูสหวิทยาเขตหนองสองห้อง–พล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสหวิทยาเขตหนองสองห้อง–พล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสหวิทยาเขตหนองสองห้อ –พล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 17 คน และครู จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งค่าดัชนีสอดคล้องตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม.892 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพสอนของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูทุกด้านมีความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ทางบวก มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูมีจำนวน 2 ด้านคือ ด้านการนิเทศการสอนและการประเมินการสอน(X3)และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย(X1) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .543 (R=.543) หรือร้อยละ 54.30 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 29.40 (R2=0.294)
References
ฉัตรชัย จันทา. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นาวา สุขรมย. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ปารณีย์ ขวัญกิจวงศ์ธร. (2558). ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วนิดา อธิกิจไพบูลย์. (2552). ความพึงพอใจของนักเรียนนักศึกษาต่อคุณภาพการสอนของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิมลสิริ มังธานี. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). รายงานประจำปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวิมล ว่องวานิช. (2554). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อับดุลรอห์มัน มะมิง. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เอื้อมพร บ่อไทย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Krejcie,R.V. & Morgan.D.W.. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(1). 607-610.