แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
THE GUIDELINES ON DEVELOPMENT OF DIGITAL LEADERSHIP FOR SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BURIRAM
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน รวม 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับที่มีลักษณะตอบสนองคู (Dual – Response Format) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI modified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังต่อไปนี้ 1) ด้านการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล 2) ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล 3) ด้านการสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 4) ด้านการบริหารและการจัดการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล 5) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และ 6) ด้านการสื่อสารและสร้างเครือข่ายผ่านสื่อดิจิทัล ตามลำดับและ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 6 ด้าน 23 แนวทาง และความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80, 4.77 และ 4.78 ตามลำดับ
References
กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. วิทยาลัยครูสุริยเทพ : มหาวิทยาลัยรังสิต.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.
เฉลิมพล วงศ์พระลับ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6(3). 137-150.
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2). 50-64.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2). 150-166.
มณีนุช ภูยังดี. (2564). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40). 249-265.
ฤทธิกร โยธสิงห์. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(1). 353-360.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565. จาก https://drive.google. com/file/d/1_DRGLt0G87rM63tZSaombjK5wx2UQjjy/view
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565. จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/2928-4-2563.html
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564). โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project). สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/ default/files/digital_disruption-article-ocsc-feb2020.pdf
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณี ไวท์. (2564). มนุษย์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Human : Digital Citizenship). วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2). 339-355.
ออระญา ปะภาวะเต. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. Journal of Modern Learning Development. 6(4). 191-200.
เอกชัย กี่สุพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era).สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565. จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/ content/52232
Karakose, T., Polat, H.& Papadakis, S. (2021). Examining Teachers’ Perspectives on School Principals’ Digital Leadership Roles and Technology Capabilities during the COVID-19 Pandemic. Retrieved 18 May 2022. From https://www. mdpi. com/2071-1050/13/23/13448
Khan, S. (2016). Leadership in the Digital Age – A study on the Effects of Digitalization on Top Management Leadership. Retrieved 23 April 2022. From https://su. diva-portal.org/smash/get/diva2:971518/FULLTEXT02.pdf
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Yusof, M. R., Yaakob, M. F.M. & Ibrahim, M. Y. (2019). Digital Leadership Among School Leaders in Malaysia. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering (IJITEE). 8(9). 1481-1485.
Zhong, L. (2017). The Effectiveness of K-12 Principal’s Digital Leadership in Supporting and Promoting Communication and Collaboration Regarding CCSS Implementation. Journal of Educational Technology Development and Exchange (JETDE). 10(2). 54-77.