กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
STRATEGIES FOR ACADEMIC ADMINISTRATION IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS IN ACCORDANCE WITH THE EPIDEMIC SITUATION OF THE CORONAVIRUS DISEASE 2019 (COVID-19) UNDER THE OFFICE OF UBONRATCHATHANI ELEMENTARY EDUCATION SERVICE AREA 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบ ความเหมาะสมของกลยุทธ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวัดและประเมินผล การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) ออกแบบ สร้าง และประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA ตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการทั้ง 5 องค์ประกอบ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผล การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา นำไปสู่การวางแผนประชุมทางไกล ผ่านระบบออนไลน์ จัดทำแบ่งหน้าที่ดำเนินงานและประชุมรายงานทางออนไลน์ ตรวจสอบติดตามประเมินผลผ่านรูปแบบออนไลน์ และแก้ไข นำไปใช้ในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID – 19) เพื่อบรรลุเป้าหมายของกลยุทธ์ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ชัชฎาภรณ์ อร่ามรุณ. (2556). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
โทซาวะ บุนจิ. (2554). คิดใหม่ทำใหม่ ด้วยไคเซ็น. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียพลัส.
นิวัตต์ น้อยมณี. (2562). การศึกษาไทยกับยุคโลกาภิวัตน์. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ปาริฉัตร โชติขันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พงษ์ศักดิ์ สุขพิทักษ์. (2555). กลยุทธ์การบริหารคุณภาพงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Jonathan Bart Reeves. (2010). Academic optimism and organizational climate: An elementary school effectiveness test of two measures. Tuscaloosa : University of Alabama Libraries.