รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านปะโค
THE EVALUATION REPORT OF THE VOCATIONAL SKILLS DEVELOPMENT PROJECT FOR STUDENTS OF BANPAKO SCHOOL
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านปะโค 2) ศึกษาผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งหมด 234 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามประเมินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามศึกษาการประเมินโครงการ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ ของโครงการโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านปะโคโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภัทรนิษฐ์ วงศ์บุญญฤทธิ์, สุระศักดิ์ ฉายขุนทด และไกร เกษทัน. (2563). การประเมินผลโครงการ การพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะและธรรมแห่งใจด้วย S & S Model และวิถี ทอ.บ. ตามรอยพ่ออย่างยั่งยืน การประเมินผลโครงการการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และธรรมแห่งใจด้วย S & S Model กับวิถี ทอ.บ. ตามรอยพ่ออย่างยั่งยืน ของโรงเรียนทหารอากาศบำรุง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14(2). 173-185.
มนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2563). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้สู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอิงฐานนวัตกรรมผ่านแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4(1). 1-19.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนบ้านปะโค. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. อุดรธานี : โรงเรียนบ้านปะโค.
วิไลวรรณ ทรงกลด. (2557). รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาความสามารถด้านการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดทักษะแห่งอนาคตใหม่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.
สุพรรณิการ์ เรืองศรี และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2564). การประเมินผลโครงการพัฒนาสังคมชุมชนบนพื้นที่สูงตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 29(1). 251-293.
เอกชัย ศรีวิไล. (2560). การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนนําร่องสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้รูปแบบประเมิน 360 องศา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Akkermans, H. J., Isaksen, S. G., &Isaksen, E. J. (2013). Leadership for innovation: A global climate survey – A CRU Technical Report. Buffalo. NY : Creativity Research Unit, Creative Problem Solving Group.
Bunyamin. (2009). The Effectiveness of using Dicstom Technique to Teach Descriptive Writing to the Eleventh Grade Students of MAN 2 Palembang. Master’s Thesis in University of Sriwijaya, Palembang, Indonesia.
Creager, M. F. S. and Deacon, M. M. (2012). Trait and Factor, Developmental, Learning and Cognitive Theories. New York : Routledge.
Deming, E.W. (1995). Out of the crisis. Cambridge, USA : Massachusetts Institute of Technology, Centre for advanced study.
Stufflebeam and Daniel. (2003). The CIPP model for Evaluation .International. Handbook of Educational Evaluation. 9. 31-62.
Stufflebeam, D. L. and Shinkfield, A.J.. (2007). Evaluation theory model & Applications. CA : Jossey-Bass.