แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11
THE GUIDELINES FOR THE TEACHER EMPOWERMENT DEVELOPMENT OF THE NETWORK SERVICE UNIT FOR PROMOTION OF EDUCATION MANAGEMENT EFFICIENCY, REGIONAL SPECIAL EDUCATION CENTER 11
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 174 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเปิด ตารางของตาราง เครซี่ มอร์แกน และใช้การสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน/สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต่องการจําเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ ได้แก่ ด้านอิสระในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านการสร้างความไว้วางใจและสัมพันธภาพที่ดี สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ ได้แก่ ด้านอิสระในการทำงาน ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 2) แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของหน่วยบริการ สำหรับเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 โดย มีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้สรุปเป็นหลักสูตรการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 ผลการประเมินหลักสูตร โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
งานวิชาการของสถานศึกษา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2). 533-548.
ณฐกร รักษ์ธรรม. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจ การทำงาน
ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. จาก http://e-journal.sru.ac.th/index.php/srj/article/ view/182
ตรียพล โฉมไสว. (2560).การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับครูในศตวรรษที่ 2. Journal of Legal
Entity Management and Local Innovation. 6(1). 123-136.
ทัน ไทรงาม. (2560). องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรถนะครูในโรงเรียน
สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
ธัณย์สิตา สุรศิษฐ์ชานล. (2562). ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 830-843.
พรฐิตา ฤทธิ์รอด. (2556).รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ. วารสาร
ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(1). 60-69.
พัชรมน คุ้มจินดา. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมฐานบิน
กำแพงแสน. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 281-292.
พัชราภรณ์ ธรรมมา. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัด
สมุทรปราการ. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
ภูวไนย สุนา. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์.
20(4). 155-164.
มณฑ์ธวัล วุฒิวิชญานันต์. (2556). พลังอำนาจการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแกน.
7(4). 220-227.
ยุพิน ภูมิช่วง. (2562). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างพลังอำนาจครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิวรรณ อินทรวงศ์. (2560). อิทธิพลระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้ลักษณะงาน
ที่ตนปฏิบัติและคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศักดิ์ดา คำโส. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(1) 170-182.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานเลขาการสภาการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
(ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.
กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุริยา หึงขุนทด. (2563). กระบวนทัศน์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษา: พหุกรณีศึกษา
จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เอกพล พันธุ์โชติ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับ
ความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.