การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

DEVELOPING A PROGRAM TO STRENGTHEN INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER KHONKAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • สุภัชชา กุลมอญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 136 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ตามมาตราประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม จำนวน 3 คน เพื่อหาแนวทางการยกร่างโปรแกรม และตรวจสอบยืนยันโปรแกรมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ประกอบด้วย 4 Module ประกอบด้วย ขั้นตอนการบริหารงานแบบมีความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านวิสัยทัศน์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม และการออกแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม ผลการประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกพิชญ์ สรรพศรี. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(1). 27-38.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับสิงสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

จีระศักดิ์ นามวงษ์ (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(6). 338-352.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 10(3). 1833-1848.

พีรดนย์ จัตุรัส. (2561). การประเมินความต้องการจําเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของ
ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยงยุทธ ไชยชนะ. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏรอยเอ็ด. 14(2). 165-175.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และคณะ. (2558). กระบวนทัศน์การโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และ
นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และคณะ. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). “องค์การแห่งนวัตกรรม” ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2562–2564. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565. จาก https:// www.ksn1.go.th/web2020/?p=12689

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
(พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุธิดา สอนสืบ. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 212-225.

Hay Group. (2005). The Innovative Organization: Lessons Learned from Most Admired Companies, Hay Insight Selections. Retrieved 12 June 2022. From http://www.haygroup.com/downloads/es/Hay_Insight_Selections_April_2005

Higgins, James M. (1995). Innovate or Evaporate: Test & Improve Your Organization’s IQ – It’s Innovation Quotient. New York : New Management Publishing Company.

Quinn, James B. (1991). Managing Innovation: Controlled Chaos. Harvard Business Review. 63(3). 17-28.

Sloane, P. (2007). The innovative leader. United States : Kogan Page Limited.

Tiddand others. (2001(. Managing innovation. 2nd ed. Chichester : Willey and Son.

Von Stamm, Bettina. (2008). Managing Innovation, Design and Creativity. Chichester :
John Wiley & Sons.
Published
2023-01-26
How to Cite
กุลมอญ, สุภัชชา; จันทร์ศิริสิร, พชรวิทย์. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 228-238, jan. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2449>. Date accessed: 21 nov. 2024.