การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

A STUDY OF THE RELATIONSHIP BETWEEN ACADEMIC LEADERSHIP’S BEHAVIOR OF EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATORS WITH TEACHERS’ COMPETENCIES IN EDUCATIONAL INSTITUTION UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • ณัฏฐานุช พรมเกตุ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธีระ ภูดี คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รัชฎาพร งอยภูธร คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 2) ศึกษาสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 และ 3) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 329 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า 1. พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ 2. สมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครู โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก (r = 0.893) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.76 ถึง 0.99 ซึ่งด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนานักเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 3) ด้านการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนางาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับด้านภาวะผู้นำครู  4) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับด้านการพัฒนาตนเอง 5) ด้านการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนางาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 6) ด้านการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนางาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารจัดการชั้นเรียน 7) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 8) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริการที่ดี 9) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำงานเป็นทีม 10) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ โดยมีค่า r = 0.992,0.990,0.98,0.977,0.976,0.975,0.974,0.972,0.966 และ 0.965 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

นาวา สุขรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

ปราโมทย์ สุวรรณเวก. (2547). สหกรณ์กบัการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันในหนังสือประมวลบทความ สหกรณ์ออมทรัพย์เล่ม 18. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจำกัด.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์การสื่อสารกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Hoy Anita W. & Hoy Wayne K. (2003). Instructional Leadership A Learning Centered Guide. The United States of America: Allyn and Bacon.
Published
2023-02-28
How to Cite
พรมเกตุ, ณัฏฐานุช; ภูดี, ธีระ; งอยภูธร, รัชฎาพร. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 207-216, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2447>. Date accessed: 03 july 2024.