แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
GUIDELINES FOR BUDGET MANAGEMENT BASED ON THE PRINCIPLES OF GOOD GOVERNANCE OF SCHOOLS UNDER THE ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูการเงินจำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล ด้านการระดมทรัพยากรด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ และด้านการจัดสรรงบประมาณ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 จำแนกตามตำแหน่งระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) แนวการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดทำและเสนอของบประมาณ ควรสร้างความตระหนักในการเบิกจ่ายโดยยึดระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดโรงเรียนควรมีการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ ควรจัดทำแผนการระดมทรัพยากรทางการศึกษาและทุนการศึกษา ควรสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบในการบริหารการเงินของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
References
จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2562). ผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ Professional Education Leadership. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จีรนาถ ภูริเศวตกำจร, อนันต์ ไกรบำรุงขนิษฐา แก้วเอียด. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. วิทยาลัยนครราชสีมา. 23 พฤษภาคม 2563. 118-124.
นันท์วดี แดงอรุณ. (2562). โรงเรียนจุดแก้โกง หรือ จุดเริ่มโกง. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563. จาก https://news.thaipbs.or.th/content/270872
พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2562). การบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2563). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาปีการศึกษา 2563 เอกสารหมายเลข 5/2563. ร้อยเอ็ด : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี : บริษัทประชุมช่าง จํากัด.
แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาสในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Chung, Kase H. and Leon C. Megginson. (1981). Organization Behavior Management Skill. New York : Harper and Row Publisher.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.