แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11
GUIDELINES FOR THE QUALITY ASSURANCE DEVELOPMENT OF THE NETWORK GROUP FOR PROMOTION OF EDUCATION MANAGEMENT EFFICIENCY, REGIONAL SPECIAL EDUCATION CENTER 11
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของหน่วยบริการ ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 175 คน และกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาศึกษาแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่ม เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 ทั้งหมด 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพปัจจุบัน สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่ม สำหรับเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 โดยมีแนวทางการพัฒนาทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2) การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4) การติดตามผลการดำเนินการ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 5) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6) การจัดทำและรายงานการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้น ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกลุ่ม สำหรับเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
References
ณัฐพล รักไทย. (2557). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิทักษ์ ดวงอาสงส์. (2558). สภาพความต้องการและการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ชรรัตน์ คงไวย. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรินทร ภูมิภาค.บุญชม ศรีสะอาด. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์. 7(6). 281-294.
วันทนา เนื้อน้อย. (2560).การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วาสนา คำห้วยหาญ. (2559). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์ (2563). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา 2563 งานศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์ หน่วยบริการอำเภอ.สุรินทร์ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สราวุฒิ คณะขาม. (2558). การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2555). ประวัติความเป็นมา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สิงหา เทียมแสน. (2558). แนวทางการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมืองแพร่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). เอกสารประกอบการสอน การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Wong, N.C.M. and Li, H. (2010). From External Inspection to Self-Evolution : A Study of Quality Assurance in Hong Kong Kindergartens. Early Education and Development. 21(2). 205-233.